ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
 

 

รวมลิ้งค์ เว็บไซต์ธรรมะ ที่น่าสนใจ
  THAIWARE Dharma | รายละเอียด บทความ บทสวด บทคาถา ธรรมะ
เลือกขนาดตัวอักษร ขนาดตัวอักษร :  ก   ก   ก   ก 

ทำ พูด คิด อย่างไร นั่นแหละคือ กรรม ?

 

    Share  
 

 

คนส่วนมากเข้าใจว่า กรรม คือ การกระทำ ความเข้าใจนี้ไม่ผิด แต่ก็เป็นความคิดที่ยังไม่รัดกุมถูกต้องทั้งหมด เพราะมีการกระทำบางอย่างที่ไม่นับว่าเป็นกรรม กรรมที่แท้ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ คือ

๑. ผู้กระทำมีเจตนา

๒. การกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือบาป

ที่ว่า ผู้ทำมีเจตนา มีหลักการพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในนิพเพธิกปริยายสูตร ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย ว่า เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิแปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม

เจตนา ได้แก่ ความตั้งใจ ความรับรู้ มี ๓ อย่าง คือ

ปุพพเจตนา เจตนาก่อนทำ

มุญจนเจตนา เจตนาในเวลาทำ

อปราปรเจตนา เจตนาเมื่อได้ทำไปแล้ว

ดังนั้น การกระทำที่มีเจตนาเกิดถึงกรรม ส่วนการกระทำที่ไม่มีเจตนา คือ ใจไม่ได้สั่งให้ทำ ไม่จัดเป็นกรรม เช่น คนเจ็บ มีไข้สูง เกิดเพ้อคลั่ง แม้พูดคำหยาบ เอามือหรือเท้าไปถูกใครก็ไม่เป็นกรรม ในทางวินัยก็ยกเว้นให้พระที่วิกลจริตทำผิดวินัยไม่ต้องอาบัติ




THAIWARE Dharma | นำข้อมูลบทความออก !  นำข้อมูลออกพิมพ์ !

THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออก โดยการพิมพ์ (Print Article by Printable View)    THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออกสู่ MS.Word (Export Article to MS.Word)    THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออกสู่ ไฟล์เอกสาร PDF (Export Article to PDF Format Document)
 

THAIWARE Dharma | กลับสู่หน้าแรก ไทยแวร์ธรรมะ
 

 


 

 
 
ลำดับ ความคิดเห็น  ลำดับที่ : 1
รายละเอียด ความเห็น  เจตนาของผู้ให้บริสุทธิ์
มีเจตนา คือความตั้งใจที่จะให้ทานนั้น แบ่งเป็นกาลเวลาได้ ๓ กาล คือ ปุพเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นก่อนให้ แค่คิดอยากจะให้ ก็เกิดปีติยินดีที่จะให้ทาน (คือเริ่มตั่งแต่คิดจะให้ แต่ยังไม่ได้ให้ แต่ว่า เพียงคิดว่าจะให้ นี้เจตนาที่ 1 ) มุญจเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะกำลังให้ของเหล่านั้น เกิดความปีติยินดี ไม่ลังเลสงสัยในขณะกำลังให้ทาน (คือเริ่มตั้งแต่ขณะที่กำลังจะยื่นของให้ ของนั้นก็ถึงมือผู้รับ นี้เจตนาที่2) อปรเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากได้ให้เรียบร้อยแล้ว แล้วเกิดความปีติยินดีในการให้ของตน แล้วก็รู้สึกยินดี เบิกบาน ว่าเรานี้ได้ให้ทานแล้ว แม้จะผ่านไปนานแล้ว เมื่อคิดถึงทานที่เคยให้ ก็มีปีติยินดี (คือเริ่มตั่งแต่ของหลุดจากมือไป ถึงมือผู้รับเรียบร้อยแล้ว แม้เวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ ก็ไม่เสียดายของ ไปจนกว่าจะได้รับอานิสงส์ทานนั้น)
ทานอย่างนี้มีผลมาก ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อผลทานนี้เกิดขึ้นแก่คนที่ให้ทาน ถ้าหากว่าเมื่อเขาไปเกิดในชาติใหม่ ถ้าเขาทำทานด้วยความบริสุทธิ์ คือ จิตใจเบิกบานทั้ง ๓ กาลนี้ เขาจะมีความสุขในปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย
ถ้าเราทำบุญ ให้ทาน ด้วยจิตใจที่มีความปีติยินดี โสมนัส ทั้งใช้ปัญญาด้วยแล้ว เชื่อกรรมและผลของกรรม ครบทั้ง ๓ กาล บุญของผู้นั้นย่อมมีผลมาก
  โดย : choti-panya@hotmail.com
  หมายเลขไอพี : 110.49.234.xxx
  โพสเมื่อ : October 4, 2011 เวลา 11:58:04
 
 

 

  THAIWARE Dharma | ส่งความคิดเห็นจากทางบ้าน !
หัวข้อ เนื้อหา ข้อตกลง
  ความคิดเห็น* :

หมายเหตุ : กรอกรายละเอียดของบทความเข้าไป (ไม่รับ HTML Code) สามารถกด Enter ขึ้นบรรทัดใหม่ได้
  ห้ามโพสข้อความ !

  ที่มีการพาดพิงถึงสถาบัน พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

  ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือส่งผลต่อ ความมั่นคงของประเทศ

  ที่ส่อไปทางลามก อนาจาร หรือผิดศีลธรรม

  ที่ถือเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ ผิดกฎหมาย

  ที่เป็นความผิด เกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา

  ที่มีการพาดพิงถึงสถาบัน พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

  ที่ผิดต่อ พรบ. ว่าด้วยการกระทำผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๑
  ชื่อ / อีเมล์* :

หมายเหตุ : "นาย สมชาย รักธรรม" หรือ "somchai.r@gmail.com"
  รหัสยืนยัน* :

 
ฉันยอมรับข้อตกลงที่กล่าวมา ภายในหน้านี้ ทั้งหมด