ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
 

 

รวมลิ้งค์ เว็บไซต์ธรรมะ ที่น่าสนใจ
  THAIWARE Dharma | รายละเอียด บทความ บทสวด บทคาถา ธรรมะ
เลือกขนาดตัวอักษร ขนาดตัวอักษร :  ก   ก   ก   ก 

พุทธวิธีในการสอน ตอนที่ ๑

 

    Share  
 

 

บ้านผมมีหนังสือ กระจายอยู่ตามตู้ตามซอกต่างๆ รอบบ้านครับ และหนังสือหลายเล่มที่ครอบครัวผมเก็บสะสมมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ก็ถูกแทรก ถูกฝังไปในซอบหลืบเหล่านั้น คล้ายเป็นทรัพย์ที่ถูกซุกซ่อนรอวันค้นพบ วันหนึ่งคุณปลวกนึกอยากจัดงานแฟชั่นและงานสัปดาห์หนังสือ ก็เลยเริ่มแทะตู้เสื้อผ้าของผมลามไปถึงชั้นหนังสือธรรมะของคุณพ่อ หลังจากเรากระชับพื้นที่ คุณปลวกไปเรียบร้อยแล้ว ผู้ปกครองทั้งสองท่านก็ร่วมมือกันเอาหนังสือที่วางกองพะเนินอยู่บนพื้นจัดเข้าตู้ใหม่และถือโอกาสคัดหนังสือเพื่อบริจาคไปด้วยเลย แต่มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่งที่คุณแม่นำมายื่นให้กับมือผมโดยเฉพาะ เป็นหนังสือเล่มบางเพียงสี่สิบหน้า เขียนโดยคุณวศิน อินทสระ ชื่อว่า “พุทธวิธีในการสอน” ฉบับพิมพ์ครั้งที่สามเมื่อปี ๒๕๓๘

คุณวศิน ถือเป็นปุชนียบุคคลด้านพระพุทธศาสนาท่านหนึ่งของเมืองไทย เขียนหนังสือทางธรรมออกมาหลายเล่ม หนังสือเล่มเล็กๆ เล่มนี้ คุณวศินเรียบเรียงเทคนิควิธีและแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงใช้ในการสอน พร้อมแสดงตัวอย่างเรื่องราวจากพระไตรปิฎก ผมอ่านด้วยความรู้สึกปลื้มปิติจากปกหน้าถึงปกหลัง เมื่ออ่านจบแล้วก็อยากบอกต่อและเปรียบเทียบกับวิธีการสอนที่อุตส่าห์ไปร่ำไปเรียนถึงเมืองนอกเมืองนา (แต่ไม่รู้ว่าบรมครูเราก็มีอยู่ใกล้ตัว)

คุณวศินแบ่งหนังสือออกเป็นสามตอนหลักดังนี้ครับ (๑) จุดมุ่งหมายที่พระพุทธองค์ทรงสอน (๒) วิธีที่พระพุทธองค์ทรงสอน และ (๓) ท่าทีที่พระพุทธองค์ทรงสอน เสียดายที่ตอนสุดท้ายนั้นสั้นไปนิด คุณวศินไม่ได้ยกตัวอย่างมากนัก ส่วนสองตอนแรกนั้นตัวอย่างเยอะและชัดเจนดี ผมเลยอยากจะเน้นแค่สองตอนแรกเท่านั้น

ตอนที่หนึ่ง จุดมุ่งหมายที่พระพุทธองค์ทรงสอน ๓ ประการ

(๑) เพื่อให้ผู้ฟังรู้จริงเห็นแจ้งในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น (อภิญญาธรรมเทศนา) ข้อนี้หมายความว่าสิ่งที่ทรงรู้แต่ทรงเห็นว่าไม่จำเป็นสำหรับผู้ฟังก็ไม่ทรงสอนสิ่งนั้น สิ่งใดที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ คือไม่เป็นเงื่อนไขแห่งระบบการครองชีวิตอันประเสริฐ (พรหมจรรย์) ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบ เพื่อคลายกำหนัด ตรัสรู้และนิพพาน ก็ทรงละไว้

ตัวอย่างหนึ่งที่ผมชอบมากคือ ข้อความในจุฬมาลุงกโยวาทสูตร พระมาลุงกยะถามเรื่องโลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง ก็ไม่ทรงแสดงธรรมเพราะเป็นปัญหาอภิปรัชญา ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ และทรงเปรียบเทียบว่า เมื่อบุคคลถูกลูกศรอาบยาพิษ ญาติมิตรได้หาแพทย์มา แต่บุคคลผู้นั้นขอทราบรายละเอียดว่าใครเป็นผู้ยิง ศรมาจากไหน และศรทำด้วยอะไร เป็นต้นแล้วจึงจะยอมให้แพทย์รักษาผ่าตัด

ในหลักการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร (instructional design) นั้น การมีเป้าหมายที่ชัดเจนนั้นสำคัญมากครับ ทุกบทเรียนเราควรจะตอบให้ได้ว่า เราให้ผู้เรียนทำสิ่งนี้สิ่งนั้นเพื่ออะไร? และทักษะความรู้อะไรที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้? (need to know) ครูอาจารย์ที่รู้วิชามากนั้น ส่วนใหญ่มักมีความต้องการให้ผู้เรียนรู้มาก รู้อย่างที่ตนรู้ จึงพยายามใส่เนื้อหาที่น่ารู้ (Nice to know) แต่หารู้ไม่ว่าผู้เรียนนั้นรับไม่ไหว จำได้ไม่หมด แถมยังทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในวิชาด้วย

ที่จริงแล้วในระดับอุดมศึกษา อาจารย์ส่วนใหญ่ก็ทราบว่าอะไรสำคัญ อะไรไม่สำคัญ แต่กล้าๆ กลัวๆ ที่จะตัดทอนเนื้อหา อาจเพราะว่าสอนจากในหนังสือ หรือเพราะสอนกันมาแบบนี้แต่ไหนแต่ไร กิจกรรม แบบฝึกหัด และบทเรียนมากมายที่มันไม่จำเป็นก็ไม่เอาออก ผมอยากให้ลองนึกกันให้ดีว่าจริงๆ มีเนื้อหาประเภท ศรยิงมาจากไหน ลูกศรทำจากอะไร อยู่ในวิชาหรือเปล่า?

(๒) เพื่อให้ผู้ฟังตรองตามแล้วเห็นจริงได้ ทรงแสดงธรรมอย่างมีเหตุผลที่ผู้ฟังพอตรองตามให้เห็นด้วยตัวเอง (สนิทานธรรมเทศนา) คือไม่ยากจนเกินไป ไม่ง่ายจนเกินไป อยู่ในขอบเขตที่ตรึกตรองขบคิดได้

ตัวอย่างหนึ่งในสิงคาลกสูตร เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกมานพผู้มีผ้าเปียก ผมเปียก (เป็นสัญลักษณ์ของความโศกเศร้า) กำลังไหว้ทิศทั้งหลาย จึงตรัสถามว่าทำอย่างนั้นเพื่ออะไร มานพกราบทูลว่าทำตามคำของบิดาสั่งไว้ก่อนสิ้นชีพว่าให้ไหว้ทิศทั้งหลาย พระพุทธองค์จึงตรัสว่าเขาไม่นอบน้อมทิศกันอย่างนี้ดอก และทรงแสดงทิศ ๖ ในความหมายใหม่ซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันคือ (๑) ทิศเบื้องหน้า มารดา บิดา (๒) ทิศเบื้องขวา ครูอาจารย์ (๓) ทิศเบื้องหลัง บุตร ภรรยา (๔) ทิศเบื้องซ้าย มิตร (๕) ทิศเบื้องต่ำ ทาศกรรมกร หรือคนในฐานะต่ำกว่า และ (๖) ทิศเบื้องบน สมณพราหมณ์ผู้มีศีล ปฏิบัติชอบต่อบุคคลประเภทต่างๆ ย่อมได้ชื่อว่าไหว้ทิศถูกต้องตามอริยวินัย สิงคาลกมานพก็ชื่นชมยินดี ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต ทั้งนี้เพราะตรองตามด้วยเหตุผลแล้วเห็นจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอน

การสอนโดยคำนึงถึงความยากความง่ายของเนื้อหาและระดับความสามารถของผู้เรียนนั้น ฝรั่งเขาเรียกว่า Zone of Proximal Development (ZPD) ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Lev Vygotsky ให้นิยามว่าหมายถึง ช่องห่างระหว่างความสามารถที่จะแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองและศักยภาพที่ผู้นั้นสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการแนะนำหรือด้วยความร่วมมือของผู้อื่น

หน้าที่ของครูอาจารย์ก็คือ การออกแบบบทเรียนให้อยู่ ในพื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้ของผู้เรียน เพราะถ้าบทเรียนยากไป ผู้เรียนก็เกิดความท้อแท้ เบื่อหน่าย แต่ถ้าง่ายไปก็เกิดความเบื่อหน่าย ขาดความท้าทายเช่นกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง พื้นที่ ZPD นี้คือพื้นที่ที่ดึงดูดใจให้เกิดความต้องการหรือสร้างฉันทะกับผู้เรียนนั่นเองครับ ตัวอย่างในสิงคาลกสูตรก็แสดงให้เห็นว่า พระพุทธองค์ทรงเทียบเคียงสิ่งที่สอน กับสิ่งที่มานพกระทำอยู่ จัดระบบความหมายใหม่โดยอ้างอิงระบบความหมายที่มีอยู่ ทำให้มานพเข้าใจได้ การออกแบบการเรียนรู้ก็ควรเป็นเช่นนั้น ค่อยๆ ต่อยอดความรู้ขึ้นไปทีละขั้น และมีการเชื่อมโยงความรู้ในส่วนต่างๆ ให้ผู้เรียนเห็นภาพของความต่อเนื่อง

มีอีกทฤษฎีที่ยืมมาจากทางภาคธุรกิจและพอจะเทียบเคียงได้กับหลักพุทธวิธีการสอนนี้คือทฤษฎี Just In Time (JIT) ที่หลายๆ คนคงเคยได้ยิน แต่เมื่อนำมาใช้ในการศึกษามันหมายถึงเครื่องมือต่างๆ ที่ผู้เรียนควรมีในการต่อยอดความรู้ครับ อย่างเช่น เด็กต้องมีพื้นฐานศัพท์ และไวยากรณ์ก่อน ถึงจะเขียนประโยคได้ หรือเด็กต้องมีพื้นฐานด้าน syntax และ structure ก่อนจะเริ่มเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้

พูดอีกอย่างคือก่อนจะให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติอะไรสักอย่าง ต้องให้เครื่องมือเขาในเวลาที่พอเหมาะ เราคงไม่ค่อยจะให้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ช้าเกินไปหรอกนะครับ (อาจารย์คงไม่สอนเขียนโปรแกรมก่อนสอน Structure) แต่ปัญหาส่วนใหญ่คือเรามักจะให้เร็วเกินไปและมากเกินไป ลอกนึกดูว่า ถ้าให้เด็กท่องศัทพ์ร้อยกว่าตัว ให้เขาเรียนไวยากรณ์ตั้งมากมาย แต่ไม่ให้เขาลองเขียนประโยคเป็นย่อหน้า ผู้เรียนก็จะสับสน ตกใจว่ามันมีอะไรกันเยอะแยะ แล้วจะเอาไปใช้ยังไง หรือวิชาโปรแกรมมิ่ง เราก็ควรจะสอน structure ทีละตัว พอให้แบบฝึกหัด ก็บอกเขาว่าเขาต้องใช้ Structure loop เท่านั้นนะ แล้วค่อยๆ ต่อยอดไปที่ structure ตัวอื่น โจทย์แบบฝึกหัดก็ยากขึ้นเรื่อยๆ และบอกใบ้ว่าต้องใช้ structure ตัวไหนในตอนแรก และลดคำใบ้ลงไปเรื่อยๆ

จริงๆ แล้วกลุ่มวิชาชีพที่เก่งที่สุดในเรื่อง JIT ก็คือนักพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ครับ ใครที่เคยเล่นเกม Role Playing Game (RPG) หรือ Action RPG หรือแม้แต่เกมแนววางแผนต่างๆ ที่ต้องผ่านฉากไปเรื่อยๆ ตัวผู้เล่นก็พัฒนาตัวละคร เก็บอาวุธต่างๆ ไปเรื่อยๆ ลองนึกตามนะครับว่าในฉากแรกนั้น เรามีแค่อาวุธง่อยๆ มีแค่ตัวละครง่อยๆ ก่อน พอเล่นไป ทักษะของตัวละครเราก็เพิ่มขึ้น เราอาจได้ตัวละครใหม่ที่เก่งกว่ามาช่วย ได้อาวุธที่ทรงพลังขึ้น เกมก็ยากขึ้นเป็นลำดับ แต่มันรักษา ZPD ไว้ตลอด และยังทยอยให้เครื่องไม้เครื่องมือมาเท่าที่เราต้องใช้ในแต่ละฉาก เพื่อจัดการกับศัตรูแต่ละตัว

ลองคิดดูว่าถ้าไปเจอเกมที่เปิดฉากแรกมาแล้วเรามีตัวละครเจ๋งๆ ครบทุกตัว มีเครื่องมือ อาวุธครบหมด เราคงจะงงเป็นไก่ตาแตกว่าจะใช้อะไรตอนไหน จริงไหมครับ? แต่ไอ้อารมณ์งงๆ แบบนี้แหละที่เราเจอในชั้นเรียนบ่อย

(๓) เพื่อให้ผู้ฟังเห็นผลแห่งการปฏิบัติตามสมควร ทรงแสดงธรรมมีคุณเป็นอัศจรรย์ สามารถยังผู้ปฏิบัติตามให้ได้รับผลตามสมควรแก่กำลังแห่งการปฏิบัติของตน

ตัวอย่างหนึ่งคือเรื่องของปาฏิหารย์ คุณวศินอธิบายปาฏิหารย์สามประการสั้นๆ ไว้ดังนี้ (๑) อิทธิปาฏิหารย์ การแสดงฤทธิ์ต่างๆ (๒) อาเทศนาปาฏิหารย์ คือการดักใจคนได้ รู้ใจคน (๓) อานุศาสนีปาฏิหารย์ การสั่งสอนให้เข้าใจเรื่องต่างๆ ตามเป็นจริง ปาฏิหารย์สองข้อแรกนั้น พระศาสดาว่าเป็นเรื่องไม่ประณีต เป็นเรื่องเฉพาะตัว พระศาสดาตรัสว่า “เราเห็นโทษของอิทธิปาฏิหาร และอาเทศนาปาฏิหารย์อยู่อย่างนี้ จึงอึดอัด ระอา รังเกียจปาฏิหารย์ทั้ง ๒ นี้” ส่วนอานุศาสนีปาฏิหารย์นั้น คือการสั่งสอนให้เว้นสิ่งที่ควรเว้น ทำสิ่งที่ควรทำทั้งกาย วาจา ใจ เป็นสิ่งประณีต มีประโยชน์ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ

อีกเรื่องหนึ่งคือทรงเน้นการปฏิบัติ “เพื่อประโยชน์ของผู้ปฏิบัติ” ว่าเป็นการบูชาพระองค์อย่างยิ่ง ยิ่งกว่าการนำเครื่องสักการะมาบูชาพระองค์ ในมหาปรินิพพานสูตรนั้น เมื่อพระพุทธองค์ตรัสว่าในอีก ๔ เดือนข้างหน้าพระองค์จะปรินิพพาน ภิกษุหลายพันรูปเที่ยวแวดล้อมพระองค์อยู่ แต่ภิกษุชื่อธรรมารามกลับปลีกตัวด้วยคิดว่าเรายังเป็นผู้มีราคะอยู่ เราจักพยายามเพื่อบรรลุอรหัตตผลในช่วงเวลาที่พระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่เพื่อเป็นการบูชาพระองค์ ภิกษุหลายรูปกราบทูลพระศาสดาว่าพระธรรมารามมิได้มีความเยื่อใยพระองค์เลย พระศาสดาก็ทรงเรียกพระธรรมารามเข้าเฝ้า เมื่อทรงทราบเหตุผลก็ทรงอนุโมทนาสาธุว่าทำเช่นนี้ เป็นการรักและเคารพพระองค์ ทรงประทานกำลังใจในการปฏิบัติธรรมพร้อมทรงแนะนำให้ภิกษุทั้งหลายเอาอย่างพระธรรมาราม

ในวงการศึกษานั้นคำว่า Child-centered หรือการสอนโดยเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางไม่ใช่เรื่องใหม่อีกแล้วครับ แต่คนยังสับสนกันเหลือเกิน คิดเอาว่าให้เด็กเรียนรู้เอง คือไม่ต้องสอนใช่ไหม? ถ้าลองดูตามพุทธวิธีแล้ว พระพุทธองค์ทรงสอน ทรงชี้แนะ ใช้ ZPD JIT และทุกทฤษฏีการศึกษาที่เรารู้จักกันช่วยในการสอน แต่พระองค์ก็มุ่งที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เช่นเดียวกันกับการเรียนรู้ ผู้สอนหรือผู้ชี้แนะแนวทางจะต้องมีความรู้มากกว่าผู้เรียน ต้องเข้าใจว่าจะสอนด้วยวิธีอะไร (การสอนโดยไม่สอนก็คือวิธีหนึ่ง) แต่ไม่ได้หมายความว่าจะโยนทุกอย่างไปให้เด็กโดยผู้สอนไม่เตรียมตัว เพราะ Child-centered ไม่ใช่สักแต่บอกว่าให้ไปหาในอินเตอร์เน็ต เทคนิควิธีนี้จริงๆ แล้วยากกว่าและใช้เวลาเตรียมตัวนานกว่าการบรรยายเป็นหลายเท่าครับ

ผมขอยกตัวอย่างที่ผมเพิ่งค้นพบ เมื่อเทอมที่แล้วนะครับ ตอนที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่มีเนื้อหา เกี่ยวกับไมโครซอฟออฟฟิศนั้น ผมทำวิดีโอสั้นๆ ให้ผู้เรียนดูตาม (เสียเวลาตัดต่อหลายวัน) ถ้าไม่เข้าใจก็กลับมาดูใหม่ได้ แล้วก็ให้แบบฝึกหัดเขาทำหลังจากดูวิดีโอจบ ซึ่งแบบฝึกหัดก็เป็นการต่อยอดจากวิดีโอ มีพลิกแพลงบ้างเล็กน้อย (เสียเวลาคิดแบบฝึกหัด และคิดเรื่องราวประกอบอีกหลายชั่วโมง) ลองคิดดูว่าถ้าผมแค่สอน มันจะง่ายกว่าเยอะ แค่เข้ามาพ่นๆ แล้วก็จบ จริงไหมครับ? บางคนอาจสงสัยว่าทำไมไม่ให้ดูวิดีโอจากยูทูบเพราะในนั้นมีวิดีโอสอน ไมโครซอฟออฟฟิศตั้งเยอะ คือส่วนใหญ่วิดีโอดีๆ จะเป็นภาษาฝรั่งนะครับ เด็กเพิ่งเข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยนานาชาติ ส่วนใหญ่ยังฟังฝรั่งพูดไม่ทันหรอกครับ ผมก็เลยต้องทำวิดีโอเอง แบบช้าๆ ชัดๆ แล้วใส่ caption ภาษาอังกฤษให้เด็กอ่านไปด้วย ทำทีละหัวข้อ เขาจะได้ไม่งงด้วย

แล้วทำไมถึงให้เด็กไปหาในอินเตอร์เน็ตเองไม่ได้? ก็เพราะผู้เรียนระดับพื้นฐาน ทักษะการค้นหาก็อาจจะน้อย การย่อยข้อมูลมหาศาลบนอินเตอร์เน็ตนั้นสับสนไม่ใช่เล่นนะครับ การให้เด็กไปหาในอินเตอร์เน็ตนั้น น่าจะเริ่มโดยการที่ผู้สอนให้ลิงค์ไปยังเว็บที่มีคำตอบอยู่แล้วก่อน หรือใช้ ZPD โดยผู้สอนแนะนำ (นี่ก็เสียเวลาหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เลือกดูว่าเว็บไหนจะเหมาะสมกับผู้เรียน ก็เสียไปเป็นชั่วโมงเหมือนกันครับ) แล้วค่อยๆ เพิ่มเว็บให้มากขึ้น สักสองสามตัวเลือกให้เด็กลองวิเคราะห์ ว่าแบบไหนมีข้อมูลดีกว่ากัน แบบไหนง่ายกว่ากัน อย่างที่ผมสอนนี่หลายคนอาจจะคิดว่าเว็บอย่างเป็นทางการของไมโครซอร์ฟเขาก็มีข้อมูลครบถ้วนดี ทำไมถึงไม่ให้เด็กไปดูในนั้น เว็บนี้ถึงแม้ว่าจะข้อมูลดีแต่มันละเอียดมากครับ บางทีข้อมูลก็เกินความจำเป็นของผู้เรียนในระดับพื้นฐาน

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ในเรื่องจุดมุ่งหมายที่พระพุทธองค์ทรงสอนทั้ง ๓ ประการสามารถสรุปได้สั้น ๆ คือ (๑) สอนเท่าที่จำเป็น (๒) สอนให้ท้าทาย (แต่ไม่ยากเกินไป) และ (๓) สอนโดยมุ่งประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญนั่นเองครับ

ไว้เดี๋ยวจะเพิ่มเติมในเรื่องของวิธีที่พระพุทธองค์ทรงสอน และเทียบเคียงกับแนวคิด ทฤษฎีฝรั่งให้ฟังกันต่อครับ

อ้างอิง: วศิน อินทสระ (๓/๒๕๓๘) พุทธวิธีในการสอน สภาการศึกษามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนา

 




THAIWARE Dharma | นำข้อมูลบทความออก !  นำข้อมูลออกพิมพ์ !

THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออก โดยการพิมพ์ (Print Article by Printable View)    THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออกสู่ MS.Word (Export Article to MS.Word)    THAIWARE Dharma | นำข้อมูลออกสู่ ไฟล์เอกสาร PDF (Export Article to PDF Format Document)
 

THAIWARE Dharma | กลับสู่หน้าแรก ไทยแวร์ธรรมะ
 

 


 

 
 
ลำดับ ความคิดเห็น  ลำดับที่ : 1
รายละเอียด ความเห็น  Propecia For Sale Cheapest Sun And Amoxicillin How To Get Viagara In Sydney viagra Kamagra Wo Bestellen Buy Clomid And Pay With Pay Pal Posso Comprar Cialis Farmacia
  โดย : Elldema
  หมายเลขไอพี : 5.188.84.xxx
  โพสเมื่อ : September 26, 2019 เวลา 06:13:11
 
 

 

  THAIWARE Dharma | ส่งความคิดเห็นจากทางบ้าน !
หัวข้อ เนื้อหา ข้อตกลง
  ความคิดเห็น* :

หมายเหตุ : กรอกรายละเอียดของบทความเข้าไป (ไม่รับ HTML Code) สามารถกด Enter ขึ้นบรรทัดใหม่ได้
  ห้ามโพสข้อความ !

  ที่มีการพาดพิงถึงสถาบัน พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

  ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือส่งผลต่อ ความมั่นคงของประเทศ

  ที่ส่อไปทางลามก อนาจาร หรือผิดศีลธรรม

  ที่ถือเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ ผิดกฎหมาย

  ที่เป็นความผิด เกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา

  ที่มีการพาดพิงถึงสถาบัน พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

  ที่ผิดต่อ พรบ. ว่าด้วยการกระทำผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๑
  ชื่อ / อีเมล์* :

หมายเหตุ : "นาย สมชาย รักธรรม" หรือ "somchai.r@gmail.com"
  รหัสยืนยัน* :

 
ฉันยอมรับข้อตกลงที่กล่าวมา ภายในหน้านี้ ทั้งหมด